วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ระบบพนักงานราชการ

สรุปสาระสำคัญของระบบพนักงานราชการ

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย
พนักงานราชการ พ.. 2547
 



                        พนักงานราชการ  คือ  บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทน

จากงบประมาณของส่วนราชการเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการนั้น

                        สาระสำคัญของระบบพนักงานราชการ
                        1. หลักการในการบริหารบุคคลในระบบพนักงานราชการ คือ เพื่อปรับปรุงกระบวนการ
จ้างงานภาครัฐในส่วนของลูกจ้างของส่วนราชการให้มีความหลากหลาย และเหมาะสมในการใช้
กำลังคนภาครัฐ และเป็นผลให้การปฏิบัติราชการมีความคล่องตัว เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผล
สอดคล้องตามแนวทางบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
                   2. พนักงานราชการ  มี 2 ประเภท  และจำแนกตำแหน่งตามลักษณะงานและผลผลิต

ของงาน  เป็น 6 กลุ่ม  ดังนี้

                            2.1 พนักงานราชการทั่วไป  ปฏิบัติงานในลักษณะเป็นงานประจำทั่วไป
ของส่วนราชการ  พนักงานราชการประเภทนี้ มี 5 กลุ่ม คือ
                                  (1) กลุ่มงานบริการ   มีลักษณะงานเป็นงานปฏิบัติระดับต้น  ไม่ซับซ้อน
มีขั้นตอนชัดเจน ไม่ใช้ทักษะเฉพาะ (วุฒิ ม. 3, .. 3, . 6, ปวช., ปวท., ปวส.) เช่น ตำแหน่งพี่เลี้ยงเด็กพนักงานช่วยการพยาบาล  พนักงานเขียนโฉนด  ฯลฯ
                                 (2) กลุ่มงานเทคนิค  มีลักษณะงานที่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญทางเทคนิค
ซึ่งต้องผ่านการศึกษาในระบบหรืองานที่ปฏิบัติโดยใช้ทักษะเฉพาะบุคคล (วุฒิ ปวช. ปวท. ปวส. หรือ

มีประสบการณ์ในงานที่ปฏิบัติไม่น้อยกว่า 5 ปี) เช่น ช่างเครื่องเรือ ช่างกษาปณ์ ช่างปราณีตศิลป์ ฯลฯ

                                (3) กลุ่มงานบริหารทั่วไป  มีลักษณะงานเช่นเดียวกับที่ข้าราชการปฏิบัติ
แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนและมีระยะเวลาการปฏิบัติงานที่แน่นอน หรือ ไม่ใช่งานลักษณะเช่นเดียวกับ

ที่ข้าราชการปฏิบัติ แต่จำเป็นต้องใช้วุฒิปริญญา (วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ที่เหมาะสมกับลักษณะงาน

ที่ปฏิบัติ) เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน  นิติกร  บุคลากร  ฯลฯ


  
                                (4) กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ  มีลักษณะงานที่ไม่อาจมอบให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่น
ปฏิบัติแทนได้  และ  มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน  หรือ  เป็นงานทางวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี หรือ เป็นงานที่ขาดแคลน (วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี, ปริญญาตรี+ใบอนุญาตประกอบ
วิชาชีพเช่น  แพทย์  วิศวกร  สถาปนิก  เภสัชกร  นักเทคนิคการแพทย์  นักฟิสิกส์รังสี  นักวิชาการ-
คอมพิวเตอร์
                                (5) กลุ่มเชี่ยวชาญเฉพาะ  มีลักษณะงานที่ต้องใช้ความรู้  ประสบการณ์
หลักวิชา  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  หรือ  เป็นการพัฒนาระบบ/มาตรฐานที่ใช้ความรู้และประสบการณ์
เชี่ยวชาญเฉพาะ (วุฒิปริญญาตรี+ประสบการณ์ 6 ปี , ปริญญาโท+ประสบการณ์ 4 ปี , ปริญญาเอก+
ประสบการณ์ 2 ปี) เช่น  นักบิน  นักวิจัย  ผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ)
                           2.2 พนักงานราชการพิเศษ  ปฏิบัติงานในลักษณะที่ต้องใช้ความรู้หรือความ

เชี่ยวชาญสูงมากเป็นพิเศษ เพื่อปฏิบัติงานในเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นเฉพาะเรื่องของส่วนราชการ

หรือมีความจำเป็นต้องใช้บุคคลในลักษณะดังกล่าว  พนักงานราชการประเภทนี้ มี 1 กลุ่ม คือ
                                (6) กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ  มีลักษณะงานที่ใช้ความรู้   ความสามารถ
ประสบการณ์   และเชี่ยวชาญพิเศษระดับสูงเป็นที่ยอมรับ  หรือ  งาน/โครงการที่ไม่อาจหาผู้ปฏิบัติ
ที่เหมาะสมในหน่วยงานได้  หรือ งานที่มีลักษณะไม่เป็นงานประจำ (ส่วนราชการสามารถกำหนดวุฒิ
การศึกษา ประสบการณ์ ตามระดับของความเชี่ยวชาญพิเศษ) เช่น ที่ปรึกษา  ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร-

โครงการ  ฯลฯ

                        ทั้งนี้ การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะเป็นไปตาม ประกาศของคณะ
กรรมการบริหารพนักงานราชการ  ซึ่งจะประกาศตามมา  และส่วนราชการสามารถกำหนด

ชื่อตำแหน่งได้เองตามความเหมาะสมของงาน

                        3. การกำหนดบัญชีค่าตอบแทน  จะกำหนดโดยแยกบัญชีตามลักษณะงานเป็น
6 บัญชี   และมีการเลื่อนขั้นค่าตอบแทนปีละ 1 ครั้ง  คือ  1 ตุลาคม ของทุกปี  นอกจากนี้จะได้รับ
สิทธิประโยชน์แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มลักษณะงาน   (รายละเอียดบัญชีค่าตอบแทนและสิทธิ-
ประโยชน์อื่น ๆ  เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการฯ)

  
                        4. ส่วนราชการจะต้องจัดทำ กรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ เป็นระยะเวลา
4 ปี สำหรับกรอบรอบแรกจะต้องให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน (สำหรับส่วนราชการที่มีจำนวนลูกจ้าง
ประจำ ไม่เกิน 5,000 คน) โดยจำนวนตำแหน่งขึ้นอยู่กับกรอบภารกิจและงบประมาณของส่วนราชการ
(ลูกจ้างประจำ+ลูกจ้างชั่วคราว เท่าที่จำเป็น) กรณีกรอบอัตรากำลังยังไม่แล้วเสร็จ  แต่มีความจำเป็น
และมีงบประมาณแล้ว  ให้จ้างได้ตามกรอบลูกจ้างประจำไปพลางก่อน  โดย
                        กรอบพนักงานราชการ  =  กรอบลูกจ้างประจำ จำนวนลูกจ้างประจำในลักษณะ
งานจ้างเหมา
                        ทั้งนี้ ลูกจ้างประจำปัจจุบันจะเข้าสู่ระบบใหม่ได้โดยความสมัครใจ และส่วนราชการ
จะต้องกำหนดให้มีการสรรหาและเลือกสรร  ตามแนวทางที่จะกำหนดในประกาศคณะกรรมการฯ
ต่อไป
                        5. การจ้างพนักงานราชการ  เป็นระบบสัญญาจ้าง  ซึ่งไม่เกินคราวละ 4 ปี   หรือ
ตามโครงการและต่อสัญญาได้ตามความเหมาะสม  การสิ้นสุดสัญญาจะมีได้ด้วยเหตุ : ครบกำหนด,
ขาดคุณสมบัติ, ตาย, ไม่ผ่านการประเมินฯ, ถูกไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยร้ายแรง, หรือเหตุอื่น ๆ
เช่น ลาออก  บอกเลิกสัญญา  ฯลฯ
                        6. ในระหว่างสัญญาจ้าง  ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน  ปีละ 2 ครั้ง
(1 ตุลาคม – 31 มีนาคม และ 1 เมษายน – 30 กันยายน) สำหรับพนักงานราชการทั่วไป ส่วนพนักงาน
ราชการพิเศษ  ให้กระทำกรณีประเมินผลสำเร็จของงานตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง
                        7. พนักงานราชการต้องรักษาวินัย หากฝ่าฝืนข้อห้ามหรือไม่ปฏิบัติตามถือว่าเป็นการ
กระทำผิดวินัย  ต้องได้รับโทษทางวินัย
                        8. ให้มี คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) ซึ่งประกอบด้วยรองนายกฯ
เป็นประธาน  เลขาธิการ ก.. เป็นรองประธาน มีกรรมการ 10 คน (จากหน่วยงานกลางบริหารคน  เงิน
แผน  แรงงาน  กลาโหม ฯลฯและผู้ทรงคุณวุฒิ 4 สาขา  (บริหารงานบุคคล   กฎหมาย   เศรษฐศาสตร์

และแรงงานสัมพันธ์) โดยฝ่ายเลขานุการเป็นผู้แทนจาก ก.. สงป. และกรมบัญชีกลาง

                        คณะกรรมการฯ  มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดแผนงานและแนวทางปฏิบัติ   รวมทั้ง
เสนอแนะส่วนราชการในการบริหารพนักงานราชการในเรื่องต่าง ๆ เช่น การสรรหาและเลือกสรร กำหนด
กลุ่มงานและลักษณะงาน ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลัง กำหนดอัตราค่าตอบแทน และมาตรฐาน
การประเมินผลการปฏิบัติงาน ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น